พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
ผลงาน
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชเป็นผู้ค้นพบ
สาระ
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือจารึกหลักที่ ๑ จารึกตัวอักษรด้านที่ ๑-๒ ด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้าน ๓-๔ ด้านละ ๒๗ บรรทัด มีข้อความเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง สภาพความเป็นอยู่ในสมัยสุโขทัย ทั้งในด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การปกครอง การค้าขาย เป็นต้น
สถานที่เก็บ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
ต้นไม้ ประจำมหาวิทยาลัย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542
" สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย "
ข้อมูลเกี่ยวกับสุพรรณิการ์ ( กรรณิการ์,ฝ้ายคำ )
วงศ์ : COCHLOSPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cochlospermum religiosum (L.) Alston
Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.(ฝ้ายคำซ้อน)
Cochlospermum gossypium De Candole
(Syn. Maxmiliana gossypium Kuntze หรือ Bombax gossypium L.)
ชื่อสามัญ : Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood
ที่มา: https://www.ru.ac.th/th/AboutUs/page?view=Emblem